คลังข้อสอบออนไลน์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
แบบทดสอบวิชา สค33035 อยู่ดีมีสุขกับชีวิตพอเพียง
1)  การสร้างภูมิคุ้มกันให้ครัวเรือนมีเป้าหมายเพื่ออะไร
  สร้างอนาคต ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย
  ออมเงินไว้เมื่อจำเป็น เพิ่มทรัพยากร
  ฝึกทักษะอาชีพ ดำรงตนตามคำสอนที่ดี
  สืบทอดประเพณีที่ดีงาม ครอบครัวดีมีสุข
   
2)  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดหลักตรงกับสำนวนไทยในข้อใด
  น้ำขึ้นให้รีบตัก
  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
  ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม
  เงินคืองานบันดาลสุข
   
3)  ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของรัฐในการยกระดับมาตรฐาน “ความอยู่ดีมีสุข”ของประชาชน
  การยกระดับศักยภาพของประชาชนในทุก ๆ ด้าน
  จัดหาเครื่องมือต่าง ๆ ในการสนับสนุนความสามารถของประชาชน
  จัดทำนโยบายที่ครอบคลุมตามความต้องการของประชาชนในทุก ๆ ด้าน
  ปรับปรุงและจัดบริการสนับสนุนการพัฒนายกระดับความสามารถของประชาชน
   
4)  หลักสำคัญของเกษตรแบบผสมผสานคืออะไร
  การรักษาสมดุลของธรรมชาติ
  การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
  การใช้ทรัพยากรตามที่ต้องการ
  การไม่ก่อมลภาวะต่อสภาพแวดล้อม
   
5)  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีสามองค์ประกอบคือ
  มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความรู้
  พอประมาณ มีเหตุผล มีคุณธรรม
  พอประมาณ มีเหตุมีผล พอประมาณ
  ทางสายกลาง มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน
   
6)  ความอยู่ดีมีสุขที่เกิดขึ้นของคนไทยตรงตามข้อใด
  มีครอบครัวที่อบอุ่น
  มีความรู้มีงานทำที่ดี
  มีรายได้พอเพียงกับการดำรงชีวิต
  การมีสุขภาพร่างกายที่ดีมีความรู้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
   
7)  ความอยู่ดีมีสุขทางนามธรรม หมายถึงข้อใด
  การมีเสื้อผ้าที่สวยงามไว้สวมใส่
  การแสวงหาความสุขของแต่ละบุคคล
  การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามอัตภาพ
  การมีทรัพย์สินเงินทองเหลือกินเหลือใช้
   
8)  แนวทางในการปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นักศึกษาควรยึดถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตคือข้อใด
  การนำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า
  การประกอบอาชีพด้วยความสุจริต
  การใช้ความรู้ของตนในการพัฒนาท้องถิ่น
  ลดความฟุ่มเฟือยรู้จักประหยัดในการดำรงชีวิต
   
9)  การเกษตรแบบผสมผสานเป็นการนำไปสู่การเกษตรแบบใด
  การเกษตรแบบยั่งยืน
  การเกษตรแบบถาวร
  การเกษตรแบบประหยัด
  การเกษตรแบบปลอดสารพิษ
   
10)  การมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีความปลอดภัยในทรัพย์สิน จัดอยู่ในองค์ประกอบใด
  ด้านสุขภาพอนามัย
  ด้านชีวิตและครอบครัว
  ด้านรายได้และการกระจายรายได้
  ด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิต