คลังข้อสอบออนไลน์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
แบบทดสอบวิชา พท33013 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสร้างมนุษย์สัมพันธ์ 2
1)  ข้อใดสะกดผิดทั้ง 2 คำ
  กะทัดรัด พยาน
  กะบาล สำมโนครัว
  กะทันหัน เต็นท์
  ขบถ ช็อกโกแลต
   
2)  ข้อใดคือการพูดแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์
  พูดในทางตรงกันข้ามกับผู้พูดเสนอคนอื่นๆ
  พูดถึงเรื่องที่เป็นโทษมากกว่าเรื่องที่เป็นประโยชน์
  พูดอย่างรอบด้านด้วยความเป็นกลาง ทั้งข้อดีและข้อเสีย
  พูดเพื่อกระตุ้นผู้ฟังให้ได้คิดและเกิดการวิพากษ์วิจารณ์
   
3)  ข้อแตกต่างระหว่างการพูดติเตียน กับ การพูดวิพากษ์วิจารณ์ คือข้อใด
  พูดติเตียนเป็นการพูดด้วยอกุศลจิต พูดวิพากษ์วิจารณ์คือการพูดด้วยกุศลจิต
  พูดติเตียนมักใช้คำส่อเสียด หยาบคาย พูดวิพากษ์วิจารณ์จะไม่ใช้คำดังกล่าว
  พูดติเตียนมักพูดเฉพาะด้านลบ พูดวิพากษ์วิจารณ์พูดอย่างรอบด้าน
  ถูกทุกข้อ
   
4)  เมื่อคู่สนทนาของท่านพูดยาวนานเกินไปสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ
  ขัดจังหวะและขอเวลาพูดบ้าง
  หลีกเลี่ยงที่จะฟังอย่างแนบเนียน
  หาจังหวะและวิธีบอกที่ละมุนละม่อม
  ก้มหน้าหรือเบือนหน้าหนีเพื่อให้เขารู้ตัว
   
5)  ข้อควรปฏิบัติเมื่อเข้ารับการสัมภาษณ์ ข้อใดถูกต้อง
  ไปถึงก่อนเวลานัดอย่างน้อย 50 นาที เพื่อศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้อง
  ไปถึงก่อนเวลานัดอย่างน้อย 30 นาที เพื่อดูแลใบหน้าเสื้อผ้าทรงผม
  ไปถึงก่อนเวลานัดอย่างน้อย 10 นาที เพื่อดูแลความเรียบร้อยและทำสมาธิ
  ไปถึงก่อนเวลานัดอย่างน้อย 5 นาที เพราะจะได้ชื่อว่าเป็นคนตรงเวลา และไม่ต้องรอนาน
   
6)  เราควรประเมินค่าการใช้ภาษาพูดจากสื่อในเรื่องใด
  ความถูกต้องในการใช้ภาษา
  ความเหมาะสมที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจ
  พูดด้วยน้ำเสียงที่ก่อให้เกิดอรรถรสในการฟัง
  ถูกทุกข้อ
   
7)  ความรับผิดชอบต่อตนเองในการพูดโทรศัพท์ คือข้อใด
  ไม่ให้ผู้ติดต่อรอนาน
  รับผิดชอบในการฟังด้วยความตั้งใจ
  มีรายละเอียดขององค์กรให้ผู้โทรมาติดต่อ
  กล่าวยกย่องผู้โทรมาติดต่ออย่างมีศิลปะ
   
8)  ข้อพึงระวังของการพูดโน้มน้าวคือข้อใด
  ระวังพฤติกรรมที่ไม่เป็นกลาง
  ระวังพฤติกรรมที่นุ่มนวลเกินไป
  ระวังพฤติกรรมที่แสดงความเมตตา
  ระวังพฤติกรรมที่เป็นนักวิชาการมากเกินไป
   
9)  การเขียนจดหมายด้วยหมึกแดงหรือดินสอและมีรอยขูดลบขีดฆ่าหรือเขียนทับลงไปแสดงว่าผู้เขียนเป็นคนอย่างไร
  ไม่มีมารยาทในการเขียนจดหมาย
  ไม่มีมนุษยสัมพันธ์
  อารมณ์หงุดหงิดในขณะเรียน
  ไม่มีความรู้ในเรื่องการเขียน
   
10)  จุดมุ่งหมายของการพูดโน้มน้าวคือ
  เพื่อให้ผู้ฟัง คล้อยตามเกิดการกระทำหรือเกิดปฏิกิริยาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  เพื่อให้ผู้ฟัง เห็นว่าผู้พูดมีจุดมุ่งหมายที่น่าสนใจชวนติดตาม
  เพื่อให้ผู้ฟัง รู้สึกถึงการใช้คำสั่งและอำนาจของผู้พูดได้อย่างนุ่มนวล
  เพื่อให้ผู้ฟัง เกิดความประทับใจในวิธีการและเนื้อหาการพูด